มีบ้านหลายหลัง แค่พักอาศัยเองทุกหลัง จะต้องเสียภาษีมั้ย เรามีคำตอบ

มีคำถาม เรื่อง…ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง…มากมายหลายแง่มุม…ทุกท่านที่มีที่ดิน และ/หรือ สิ่งปลูกสร้าง ต้องพยายามทำความเข้าใจให้ดี…ถ้า ละเลย/เพิกเฉย…ท่านจะเสียหายเอง…มิใช่คนอื่นเสียหาย

– ท่านต้องทราบว่า ทางราชการเพียงเลื่อนการจัดเก็บภาษี จากเดือนเมษายน ไปเป็นสิงหาคม 63 เท่านั้น สำหรับหลักเกณฑ์อื่นๆ ไม่เปลี่ยนแปลง

~ คำถาม ซื้อคอนโดไว้…ต้องเสียภาษีอัตราเท่าไหร่?
ตอบ : ถ้าใช้อยู่อาศัยเป็นหลังรอง หรือ หลังที่สองขึ้นไป เสียภาษี อัตรา 0.02% จากราคาประเมินใหม่ หรือ ล้านละ 200.-

… ถ้า ไม่ไปยื่นคำร้องขอแก้ไข การใช้ประโยชน์บ้าน หรือ คอนโด ทางสำนักงานเขต จะระบุ “อื่นๆ” (ให้เช่า/หรือ ว่างเปล่า/ไม่ได้ใช้อยู่อาศัย) สำหรับที่อยู่อาศัยหลังที่สองขึ้นไป เสียภาษี อัตรา 0.3% จากราคาประเมินใหม่ หรือ ล้านละ 3,000.- (ถ้าราคาประเมินใหม่ ราคา 10 ล้าน ท่านต้องเสียภาษีปีละ 30,000.-)

… ถ้า ที่อยู่อาศัย เป็นบ้าน หรือ คอนโดก็ตาม หลังแรก (ที่อยู่หลัก) พร้อมทั้ง
มีชื่อในทะเบียนบ้านก่อน 1 มกราคม 63 ถ้า มีมูลค่าไม่เกิน 50 ล้านบาท ได้รับการยกเว้น ไม่ต้องเสียภาษี

~ กฎหมายฉบับนี้ ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ให้เริ่มบังคับใช้เป็นกฎหมาย เมื่อ 13 มีนาคม 2562 กำหนด วันเริ่มการจัดเก็บภาษี คือ ตั้งแต่ 1 มกราคม 2563 เป็นต้นไป (มาตรา 2)…ประชาชนจะอ้างว่า ไม่รู้ว่า มีกฎหมายดังกล่าวไม่ได้ เพราะในหลวงทรงลงพระปรมาภิไธย และ ประกาศใช้แล้ว

~ คำถาม : แล้วที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ซึ่งใช้เป็นฐานในการเก็บภาษี…กำหนดมูลค่าอย่างไร ?
… คำตอบ : สิ่งปลูกสร้างต่างๆ รวมทั้งห้องชุด…ใช้ราคาประเมินทุนทรัพย์…ตามข้อมูลใหม่ ของกรมธนารักษ์ (มาตรา 35 และ 36)

~ คำถาม : ใครเป็นผู้จ่ายภาษี และ จ่ายเมื่อไร ?
… คำตอบ : ผู้ที่มีชื่อเป็นเจ้าของที่ดิน หรือ สิ่งปลูกสร้างทุกคน ณ วันที่ 1 มกราคม ของปีนั้นๆ…มีหน้าที่ ต้องเสียภาษีสำหรับปีนั้นๆ ซึ่งตัวเลขต่าง ๆ เป็นอัตราต่อปี ก็คือต้องจ่ายทุกปี (มาตรา 9)
… โดยต้องชำระภายใน…เดือนเมษายนของปีนั้นๆ (มาตรา 46)

~ ยกเว้น ในการเก็บภาษีปีแรก 2563 ให้เลื่อนการเก็บภาษีไปในเดือนสิงหาคม 63 เท่านั้น

.. ดังนั้น ถ้ามีการขายสินทรัพย์ระหว่างปี…ผู้ขายซึ่งจ่ายภาษีไปแล้ว …อาจขอให้ผู้ซื้อ…ชดเชยคืนส่วนภาษีให้ด้วย…หรือไม่…ก็รวม/บวกเข้าไปในราคาซื้อขายให้แล้วเสร็จ โดยคำนวณสัดส่วนของระยะเวลาในปื ณ วันซื้อขาย…ควรตกลงกันก่อนให้ชัดเจน จะได้ไม่ต้องผิดใจกันในภายหลัง

~ คำถาม : มีกฎหมายใหม่ตัวนี้แล้ว มีการยกเลิกกฎหมายในการเก็บภาษีตัวเก่าด้วยไหม?
…คำตอบ …มีกฎหมายตัวเก่า…ที่ถูกยกเลิก…ไม่มีการเรียกเก็บภาษีอีกต่อไป โดยมีกฎหมายนี้มาทดแทน คือ ยกเลิก พ.ร.บ. ภาษีโรงเรียนและที่ดิน รวมถึง ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม ยกเลิก พ.ร.บ. ภาษีบำรุงท้องที่ รวมถึงฉบับแก้ไขเพิ่มเติม ยกเลิก พ.ร.บ. กำหนดราคาปานกลางของที่ดิน สำหรับการประเมินภาษีบำรุงท้องที่ (มาตรา 3)

~ คำถาม : ภาษีนี้ จ่ายให้รัฐบาลใช่ไหม ?
…คำตอบ…ไม่ใช่ …ภาษีตัวนี้ ไม่ได้จ่ายเข้าส่วนกลางของรัฐบาล คือ ไม่ได้จ่ายให้กรมสรรพากร หรือ กระทรวงการคลัง
~ ภาษีที่ดิน และสิ่งปลูกสร้างนี้…จ่ายให้แก่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้แก่
เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) กรุงเทพมหานคร เมืองพัทยา
แต่ ไม่รวมองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) (มาตรา 5 และ 49)

~ คำถาม : ถ้าไม่จ่ายภาษีดังกล่าว…ภายในเวลาที่กำหนด…จะถูกปรับอย่างไร ?
…คำตอบ…จะต้องเสียเบี้ยปรับเพิ่มอีก 40% ของภาษีที่ค้างจ่าย (มาตรา 68)

และ เสียเงินเพิ่มอีก 1% ต่อเดือน ของภาษีที่ค้างจ่าย (หรือ ต้องจ่ายเพิ่มอีก 12% ต่อปี) นอกเหนือจากที่ต้องเสียเบี้ยปรับ 40% (มาตรา 70)

## อย่าได้ประมาท อย่ามาทำล้อเล่นว่า ไม่เป็นไรนะ ขอย้ำว่า กฎหมายฉบับนี้ ในหลวงทรงลงประปรมาภิไธย และ ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว เพียงแต่ เลื่อนการจัดเก็บภาษีตัวนี้ครั้งแรก ไปในเดือนสิงหาคม 63 เท่านั้น

~ ขอสรุปอีกครั้ง
1. สำหรับคนมีบ้าน หรือ มีคอนโด ใช้เป็นที่อยู่หลัก ของบุคคลธรรมดา คือเป็นเจ้าของบ้านและที่ดิน หรือ คอนโด พร้อมมีชื่อในทะเบียนบ้านนั้น…จะได้รับการยกเว้นภาษีจากมูลค่าทรัพย์สิน 50 ล้านบาทแรก ส่วน 25 ล้าน ถัดไป เสีย 0.03% ต่อปี (ล้านละ 300)

2. ที่อยู่รอง…ของบุคคลธรรมดา คือ…เป็นเจ้าของ…แต่ไม่มีชื่อในทะเบียนบ้าน เสียภาษีตั้งแต่ราคาประเมินบาทแรก โดยมูลค่า 50 ล้านบาทแรก เสีย 0.02% ต่อปี (ล้านละ 200) และ ไล่ตามมูลค่าขึ้นไปจนถึง 0.10% ต่อปี (ล้านละ 1,000)

~ แต่ ทั้งนี้ เจ้าของกรรมสิทธิ์ ในบ้าน หรือ ในคอนโด ต้องยื่นคำร้องขอแก้ไขการใช้ประโยชน์ของบ้าน หรือ คอนโด ที่ตนเป็นเจ้าของ จาก “อื่นๆ” ไปเป็น “อยู่อาศัย” จากสำนักงานเขต หรือ อบต.ที่มีทรัพย์ตั้งอยู่ด้วย ถ้าละเลย/เพิกเฉย ถือว่า ใช้ประโยชน์อย่างอื่น มิได้ใช้อยู่อาศัย คือ ให้เช่า หรือ ปล่อยร้างว่างเปล่า จะเสียภาษีในอัตรา ร้อยละ 0.3% หรือ ล้านละ 3,000.- (ถ้าราคาประมินใหม่ มีมูลค่า 10 ล้าน ท่านต้องเสียภาษี ปีละ 30,000.-นะครับ)

3. ข้อยกเว้นเพิ่มเติม ในช่วง 3 ปีแรก (2563-2365) คือ

1. ที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง เพื่อการเกษตร ของบุคคลธรรมถา ยังไม่ต้องเสียภาษีใด ๆ ตามกฎหมายนี้ (มาตรา 96)

2. ผู้ที่เคยเสียภาษีโรงรือนและที่ดิน หรือ ภาษีบำรุงท้องที่ และต้องเสียภาษีเพิ่มขึ้นจากเดิม เนื่องจากกฎหมายนี้ ส่วนต่างเมื่อเทียบกับแบบเดิม จะได้บรรเทาภาระ ดังนี้
1) ปีที่ 1: จ่ายแบบเดิม + 25% ของส่วนต่าง
2) ปีที่ 2: จ่ายแบบเดิม + 50% ของส่วนต่าง
3) ปีที่ 3: จ่ายแบบเดิม + 75% ของส่วนต่าง (มาตรา 97)

~ หวังว่า ท่านที่มีหลักทรัพย์ เป็นที่ดิน ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง หรือ คอนโด ในชื่อของตนเอง ต้องตื่นตัวนะครับ ถ้าทำหลับไหล ค้างชำระภาษี ต้องถูกปรับ 40% และเสียเงินเพิ่มปีละ 12% ค้างชำระหลายปี อาจถูกนำทรัพย์สินนั้น ไปขายทอดตลาด เงินทั้งหมด ตกแก่ อบต. เทศบาล กทม. หรือ เขตเมืองพัทยา อันเป็นที่ตั้งของทรัพย์สินของท่าน เงินภาษีตัวนี้ ไม่เข้าสู่รัฐบาล แต่ จะเข้าสู่ท้องถิ่นเท่านั้น

ใส่ความเห็น